วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กาแล็กซี่


กาแล็กซี่ (GALAXIES)

           เอกภพมีการขยายตัวมาตั้งแต่ครั้งที่มีกระเบิดครั้งใหญ่ครั้งแรก (original great explosion) สสารที่เกิดขึ้นจากการระเบิดในครั้งนั้นคือ สิ่งที่เป็นหมู่เมฆระหว่างดาว (interstellar clouds) ที่ประกอบด้วยก๊าซและธุลี  ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ สสารและเทห์ฟากฟ้าทั้งหมดดังกล่าวไม่ได้กระจายออกไปในห้วงอวกาศโดยสม่ำเสมอเท่ากัน  หากแต่ออกไปเป็นกลุ่ม ๆ  กลุ่มหนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ กาแล็กซี่ (galaxy)  ซึ่งเป็นที่อยู่ของระบบสุริยะ



ประเภทของกาแล็กซี่ (TYPE OF GALAXY)

             บรรดากาแล็กซี่ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากมายมหาศาลนั้นสามารถจำแนกได้หลายประเภท บ้างก็กลม (round) บ้างก็รีอยางรูปไข่  (elliptical)  บ้างก็แบนหรือนูนอย่างรูปเลนส์  (flat or lens-shaped)   บ้างก็เป็นรูปเกลียวก้นหอย (spiral) ที่มีแขนยื่นออกมาจากใจกลางซึ่งเป็นที่ที่ดาวฤกษ์ส่วนมากอยู่ในนั้นจำนวน  2  แขนหรือมากกว่านั้น
              การตั้งชื่อกาแล็กซี่ก็คล้ายกับการตั้งชื่อหมู่ดาวฤกษ์และหมู่เนบิวลาที่ใช้อักษรหนึ่งตัวกับตัวเลขอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ผู้ที่ได้จำแนกกาแล็กซีเป็นคนแรกคือ  ซี.  แมสเซียร์ (C. Messier)  นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  และนั่นคือเหตุผลที่ว่าเหตุใดชื่อของหลายกาแลกซีจึงขึ้นต้นด้วยอักษรเอ็ม (M)  เหมือนกันและตามด้วยตัวเลขอีกจำนวนหนึ่ง


การประทะกันของกาแล็กซี (THE COLLOSION OF GALAXY)

       เนื่องจากกาแล็กซีมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่คุมกันเป็นกลุ่มเฉพะที่ (local group) และต่างอยู่ค่อนข้างจะใกล้ชิดกัน  ดังนั้นจึงมีการ "ปะทะ"  กันบ่อย ๆ  สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันก็คือเมื่อกลุ่มกาแล็กซีเคลื่อนเข้ามาใกล้กับอีกกาแล็กซีหนึ่งจนได้ระยะ ความโน้มถ่วงแบบดึงเข้าหาตัว (gravitation pull)  ของแต่ละกาแล็กซีในกลุ่มกาแล็กซีนั้นก็จะเริ่มดึงดูดดาวฤกษ์ดวงที่อยู่ไกลสุดของอีกกาแล็กซีที่มันเคลื่อนเข้าหา  และยิ่งเข้าใกล้ก็ยิ่งแรงขึ้น ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลให้กาแล็กซีนั้นต้องสูญเสียดาวฤกษ์ไปให้กลุ่มกาแล็กซีทีละดวงสองดวง  ในกรณีที่ปะทะกันหนัก  มวลของดาวฤกษ์ของทั้งสองฝ่ายที่ปะทะกันก็จะก่อให้เกิดกาแล็กซี่ใหม่ขึ้นมาอีก 1 กาแล็กซี


การขยายตัวของเอกภพ (EXPANSON OF THE UNIVERSE)

        ข้อพิสูจน์การขยายตัวของเอกภพ (expansion of the unierse)  ข้อหนึ่งก็คือข้อเท็จจริงที่ว่ากาแล็กซีจำนวนมากที่ประกอบกันขึ้นเป็นเอกภพนั้นกำลังเคลื่อนที่ห่างออกไปจากกันและกัน การสังเกตการณ์จากโลก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีหนึ่งนั้นพบว่ากาแล็กซีอื่น ๆ กำลังเคลื่อนห่างออกไปจากเรา  และยิ่งเคลื่อนที่ห่างออกไปก็ยิ่งมีความเร็วเพิ่มขึ้น  บรรดากาแล็กซี่ที่อยู่ริมนอกของเอกภพเป็นพวกที่ได้ก่อเกิดขึ้นก่อนเป็นพวกแรก  หรืออีกนัยหนึ่งเป็นพวกที่มีอายุน้อยที่สุด  และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้

ท่านจะวัดความเร็วของกาแล็กซีได้อ่างไร ?

         ในการวัดความเร็วของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งของกาแล็กซีหนึ่งนั้น  นักวิทยาศาสตร์ใช้สิ่งที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler Effect) โดยหลักการที่ว่าเมื่อเทห์ฟากฟ้าเคลื่อนที่ห่างออกไปจากเรา  ถ้าแสงของมันยิ่งแดงมากขึ้นก็แสดงว่ามันยิ่งเคลื่อนที่เร็วขึ้น  ในทางกลับกัน  ถ้ามันเคลื่อนที่เข้ามาหาเราแสงของมันจะเป็นสีน้ำเงิน  เช่นเดียวกับเสียงหวูดรถไฟที่กำลังวิ่งเข้าหาเราจะมีเสียงแหลมขึ้น ๆ แต่ถ้ากำลังวิ่งออกห่างไปจากเราจะมีเสียงที่ค่อย ๆ ทุ้มต่ำลง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น